
เส้นทางไป สถานีอนามัยบ้านแม่ชา

สถานีอนามัยบ้านแม่ชา อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
หลังจากเดินทางถึงทางทีมงานวิศวกร ก็สำรวจแผงโซล่าเซลล์ และระบบสำรองไฟ รวมถึงระบบชาร์ทและระบบแปลงไฟ

แผงโซล่าเซลล์ขนาด 50 วัตต์ จำนวน 40 แผง ต่อแบบขนานเพื่อใช้ระดับแรงดัน 48 โวลล์ โดยมีกำลังผลิต 2,000 วัตต์ต่อชั่วโมง

ตรวจสอบแรงดันของแบตเตอรี่ พบว่า แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ แบตเตอรี่เซลล์เดี่ยวซึ่งแต่ละลูกจะมีแรงดัน 2 โวลล์ จำนวน 24 ลูกต่อแบบอนุกรมเพื่อให้แรงดันเท่ากับ 48 โวลล์ จากการตรวจสอบพบว่าแบตเตอรี่ไม่สามารถใช้การได้ 3 ลูกจึงทำให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากแบตเตอรี่ดังกล่าวไม่มีจำหน่ายทั่วไปในประเทศไทย ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว ทางเอ็นจินีโอ จึงแนะนำให้เปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย เพื่อง่ายต่อการบำรุงรักษา และแบตเตอรี่ที่ใช้ควรเป็นแบตเตอรี่ชนิดที่สามารถดึงประจุได้ลึกๆ (Deep cycle battery)

ทำการตรวจสอบแรงดันของแผงโซล่าเซลล์แต่ละแผง พบว่าแรงดันแต่ละแผงไม่เท่ากัน และลดลงผิดปรกติ โดยปรกติแผงโซล่าเซลล์ควรมีแรงดัน 17-18 โวลล์ในขณะที่ยังไม่ได้เชื่อมต่อโหลด แต่ที่เราวัดได้บางแผงจะมีแรงดันเหลือเพียง 12 โวลล์เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องวางแผนที่จะทำการเดินสายไฟให้แต่ละแผงใหม่ เพื่อให้แรงดันรวมสูงกว่า 58 โวลล์ เพื่อที่จะสามารถชาร์ทเข้ากับระบบสำรองไฟฟ้า 48 โวลล์ได้ และต้องใช้ระบบควบคุมการชาร์ทที่มีระบบการชาร์ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเลือกที่จะเปลี่ยนเครื่องชาร์ทประจุ เป็นยี่ห้อ OUTBACK ผลิตจากประเทศอเมริกา ซึ่งมีระบบ MPPT จะช่วยให้กำลังที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์สามารถชาร์ทเข้ากับแบตเตอรี่ได้อย่างเต็มที่

ระบบชาร์ทและควบคุมการชาร์ทและอินเวอร์เตอร์แปลงไฟอยู่ในโรงเก็บ
เมื่อเราทราบปัญหาแล้ว และวางแผนที่จะทำการเปลี่ยน แบตเตอรี่ใหม่ เปลี่ยนระบบควบคุมการชาร์ทให้ และเดินสายระบบใหม่ น่าจะใช้ได้ สำหรับเครื่องแปลงไฟฟ้าตรวจสอบไม่พบสิ่งผิดปรกติแต่อย่างได้
เช้าวันใหม่บรรยากาศสดใส

ต้มน้ำชงกาแฟที่เตรียมกันไป กลมกลืนกับธรรมชาติที่อากาศหนาวเย็น

ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้แผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พวกเราก็เริ่มที่จะทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ก่อนอื่นเลย

ทำการเดินสายไฟใหม่ทั้งหมด โดยเปลี่ยนใช้สายไฟที่เหมาะสมกับแผงโซล่าเซลล์ (ปรกติสายไฟ DC จะเป็นสายฝอย ยิ่งเป็นฝอยมากๆ ยิ่งดีเพราะไฟฟ้า DC จะวิ่งบนผิว)

เครื่องชาร์ทประจุ ยี่ห้อ OUTBACK ซึ่งมี MPPT ประสิทธิภาพสูงถูกติดตั้งให้แก่ระบบเพื่อช่วยส่วนการชาร์ทให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แบตเตอรี่ชนิดดึงประจุลึกได้เปลี่ยนแทนที่แบตเตอรี่ชนิด 2 เซลล์ โดยแบตเตอรี่ที่ยังใช้ได้ก็สามารถนำไปใช้กับระบบสื่อสารที่ใช้ระบบการชาร์ทเป็นแบบ 12 โวลล์
หลอดไฟแสดงการทำงานได้ถูกติดตั้งเพิ่ม เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบการทำงานของระบบ
ระบบเริ่มทำงาน มีการแสดงผลในขณะการชาร์ทประจุดด้วย หลังจากนั้นก็ทำการทดสอบระบบ
เริ่มจากเปิดไฟตู้เย็น

ไฟฟ้าส่องสว่างภายในห้อง

ห้องตรวจ ห้องฉุกเฉิน
ไฟสองสว่างภายนอก